ความผิดพลาด

เบื้องหลังความผิดพลาด  และความบกพร่อง ในการสื่อภาษา  และการใช้ภาษาเป็นสื่อ

ในการที่จะเข้าความจริงนั้น ต้องมีประสบการณ์ตรง  บางครั้งภาษา  ก็ไม่สามารถสื่อได้เต็มที่  บางที่มีการสรุปที่ผิดพลาดได้เหมือนกัน  เช่นเอาคนตาบอด แต่กำเนิดมาประมาณสัก  50 คน  ที่ไม่เคยเห็นสีเขียว  สีแดง  รูปร่างสัตว์ต่างๆ แล้วก็เอาช้างมาตัวหนึ่ง  แล้วก็ให้คนตาบอดมาคลำ  แต่ไม่ได้คลำทั่วตัว  เอาขาให้คนนี้คลำ  แล้วก็เอาหูช้างให้อีกคนหนึ่งคลำ  แล้วก็เอางาช้างให้อีกคนหนึ่งคลำ  คลำกันพอสมควรแล้ว  ก็ตามจำ

“เป็นไง ช้างเป็นยังไง  รูปร่าง ยังไง”  คนตาบอดก็ตอบไม่เหมือกัน  คนที่คลำหาง  ก็บอกว่า ช้างรูปร่างเหมือนไม้กวาด  คนที่คลำขา  ก็บอกช้างนั้น เหมือนเสา  คนที่คลำหูช้าง บอกว่าช้างรูปร่างเหมือนกระด้ง  ตอบไปคนละทางสองทาง

ที่นี้ พอว่าไม่ตรงกัน  พวกคนตาบอดเหล่านั้น ก็เถียงกัน  เพราะว่าตัวเองสัมผัส จับมาเอง  ก็ต้องเชื่อว่าฉันได้ เห็นความจริงแล้ว

อันนี้ก็สรุปได้ว่า  คนเราบางทีแม้มีประสบการณ์ตรงก็ยังมีความผิดพลาด  คือจับเอาแต่บางแง่บางด้าน  แล้วก็สรุปเป็นผลรวมของสิ่งนั้น

ขอยกตัวอย่างอีกเรื่อง คนที่ประสบการณ์ตรง  อาจจะมีความผิดพลาดได้เหมือนกัน  เช่นในกรณี เรื่อง “ กระต่ายตื่นตูม”

ที่ป่าแห่งหนึ่ง  มีต้นไม้หลายชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น  ที่นี้  ก็มีใบตาลแห้งตกอยู่ใต้ต้นมะตูม  เจ้ากระต่ายตัวหนึ่ง  ก็ไปนอนอยู่ใต้ใบตาล ภายใต้ต้นมะตูมนั้น  นอนหลับสนิท  ฝันสบาย  ปรากฏว่า  พอดีลูกมะตูมลูกหนึ่ง มันหล่นลงมาโค่นใบตาลแห้งๆ  เสียงมันดังมาก  เพราะเจ้ากระต่ายอนอนอยู่ได้นั้น  หูมันติดกับใบตาล  แล้วมันกำลังฝันอยู่ ก็ทำให้เกิดจินตนาการขึ้น  เพราะว่าเสียง  ลูกมะตูมหล่นดังสนั่นหวั่นไหว  มันตื่นขึ้นมาด้วยความตกใจก็คิดว่า  “โอ้โห ! นี่โลกแตกแล้ว  ก็กระโดดพรวดพราด  ไม่ได้ตรวจสอบ ดูให้ดีว่ามันคืออะไร  ก็วิ่งหนีเต็มที่แล้ว  ก็ตะโกนไปด้วยว่า  “โลกแตกแล้ว  โลกแตกแล้ว”  เจ้าสัตว์อื่น หลายตัว  พอได้ยินอย่างนี้  เห็นเจ้ากระต่ายวิ่งมาด้วยความรีบร้อน ตกใจ  ก็ตกใจบ้าง  ไม่ได้ทันตรวจสอบอะไร  ก็วิ่งตามกันไป  กลายเป็นแถวขบวนสัตว์  ที่วิ่งหนีภัย โลกแตกนี้ยาวเป็นกิโลเลย

จนกระทั่งไปเจอราชสีห์  ราชสีห์ก็ห้ามว่า  “หยุดก่อน  หยุดก่อน”  พวกสัตว์ทั้งหลาย  ก็ไม่ยอหยุด  เพราะกำลังตกใจมาก  ราชสีห์ต้องคำรามขี้นมา  พอราชสีห์คำรามขึ้นมา  สัตว์ทั้งหลายก็ตกใจกลัว  มันก็เลยหยุด  เป็นแถวยาวยืด  พอหยุดเสร็จแล้ว ราชสีห์ก็ถามว่า

พวกเจ้าวิ่งหนีอะไรมา ?  สัตว์พวกนั้น  มันตะโกนว่า “โลกแตก” ทุกตัวที่อยู่ในขบวน ก็ตะโกนว่า “โลกแตก โลกแตก”    ราชสีห์ก็ถามว่า  มันเป็นยังไงที่ว่า “โลกแตก”  ใครเป็นคนเห็น  กวางก็บอกว่า  เจ้าลิงเห็น  ลิงบอกไม่ใช่  ฉันไม่ได้เห็น  บอกอีเก้งเห็น  อีเก้งก็บอกว่า ควายเห็น  ควายบอกหมูป่า เห็น  ว่าซัดทอดกันเรื่อยไป

นี่คือลักษณะของการ “ตื่นตูม”  พอพอ  สอบสวน ก็หาตัวไม่ได้  แต่ราชสีห์  ก็เลยต้องใช้วิธีสอบสวน ไปเรื่อย  พวกเจ้าได้ยินจากไหน ?  จนกระทั่ง ในที่สุดก็ได้มาถึง เจ้ากระต่ายนี่เองเป็นต้นเหตุ

ราชสีห์ ก็ถามว่า “ แกบอกว่าโลกแตก”  มันเป็นยังไง ? โอ้ย โลกแตก  สนั่นหวั่นไหวเลย  แกได้ยินที่ไหน  ตอนนั้นแกอยู่ที่ไหน  เจ้าพาข้าไปดูซิ

  • นี่ นักสืบสวน ต้องไปให้เห็นเหตุไปเลย เจ้ากระต่าย ก็กลัวบอกว่า ข้าไม่กล้า ไปหรอก  โลกมันแตกแล้ว จะไปอย่างไร
  • ราชสีห์บอกว่า “เออน่า  ข้าเป็นประกันแกไม่กล้าไป  แกขี่หลังข้าไปได้”
  • เป็นอันว่า ราชสีห์ให้กระต่ายขี่หลังไป สัตว์อื่นเห็นว่า  ราชสีห์เป็นเจ้าป่า  มีลักษณะกล้าหาญ  มีกำลังใจ เดินตามกันไปจนกระทั่งไปเห็นลูกมะตูม ตกอยู่บนใบตาล

“กระต่ายตื่นตูม  คือที่มีประสบการณ์ตรง  แต่ไม่ได้ สืบสวนเรื่องราวข้อเท็จจริง ให้ถ่องแท้  อาจจะมีความหลงผิด  หรือได้ประสบการณ์ตรงซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ผิด เพราะฉะนั้น การได้ประสบการณ์ตรงก็ยังไม่เป็นหลักประกันที่แน่นอน

              นอกจากนั้นความผิดพลาดนี้ยังอาจจะเกิดจากเจ้าตัวผู้รับรู้นั่นเอง ผู้ที่รับรู้สิ่งนั้น หรือผู้ที่กล่าวภาษานั้น กล่าวด้วยคำนั้นทำความผิดพลาดโดยไม่รู้ตัวเอง  ความไม่รู้ตัวนี้มีสาเหตุมาจากกระบวนการรับรู้ของเขาไม่ได้ความจริง อาจจะเกิดความผิดพลาด   หมายความว่า กระบวนการรับรู้นี้หลอกตัวเราเอง

“มันหลอกตัวเองอย่างไร”

การรับรู้ของเราถูกย่อมสี่ ด้วยความรู้สึกของเราเอง

Scroll to Top
Scroll to Top